ขนาดตัวอักษร เล็ก ปกติ ใหญ่

นิคมสหกรณ์วังน้ำเย็น

ผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์วังน้ำเย็น

ผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์วังน้ำเย็น

ว่าที่ร้อยโทสราวุธ นาคพงษ์
ตำแหน่ง: นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ

เบอร์โทรศัพท์ : 037-425037
เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ : 062-787-8674

E-mail :This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

1.6

1.7

2.1

2.2

2.3

2.4

2.5

  • ฮิต: 1612

แผนงานและโครงการแต่ละปี นิคมสหกรณ์วังน้ำเย็น

  • ฮิต: 640

ที่ตั้งนิคมสหกรณ์สระแก้ว

ที่ตั้งนิคมสหกรณ์สระแก้ว    

 นิคมสหกรณ์สระแก้ว           

184 ม.3 ต.ศาลาลำดวน อ.เมือง จ.สระแก้ว 27000                                 

อีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.   หรือ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ที่ตั้งนอคมสระแก้ว

 

 

 

 

 

 

  • ฮิต: 635

ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์นิคมสระแก้ว

ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์นิคมสระแก้ว

การจัดนิคมสหกรณ์

          การจัดนิคมสหกรณ์เป็นการให้หน่วยงานของราชการมีอำนาจหน้าที่จัดสรรที่ดินของทางราชการ เพื่อให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหะสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินนั้น และที่ดินนั้นเหมาะแก่ทางราชการที่จะต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพทางการเกษตร

การจัดตั้งและการดำเนินงาน
               เมื่อทางการได้อนุญาตให้ราษฎรที่ได้รับคัดเลือกเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินแล้ว ก็จะมีการรวบรวมราษฎรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินในโครงการจัดตั้งเป็นสหกรณ์และจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 เป็นประเภทสหกรณ์นิคม
               สหกรณ์นิคมเป็นสหกรณ์ประเภทหนึ่ง มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับสหกรณ์การเกษตร คือ มีการดำเนินธุรกิจที่ให้บริการแก่สมาชิกคล้ายคลึงกัน เช่น ด้านสินเชื่อจัดหาปัจจัยการผลิตและสิ่งของที่จำเป็น แปรรูปและส่งเสริมการเกษตร แต่มีส่วนที่แตกต่างกัน คือ เรื่องที่ดิน เพราะสหกรณ์การเกษตรมักจัดตั้งในพื้นที่ที่เกษตรมี่ที่ดินเป็นของตนเองอยู่แล้ว จะมีเกษตรกรที่เช่าที่ดินผู้อื่นทำกินบ้างเป็นส่วนน้อย  ส่วนในสหกรณ์นิคม รัฐเป็นเจ้าของที่ดินในครั้งแรกแล้วจึงนำไปจัดสรรให้แก่เกษตรกรในภายหลัง
               เหตุที่รัฐสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นในนิคม เนื่องจากรัฐมีความประสงค์จะส่งเสริมราษฎรที่เข้ามาอยู่ในนิคม ให้มีอาชีพทางการเกษตรที่มั่นคงและมีรายได้สูงขึ้น สามารถดำรงชีพครอบครัวอยู่ได้ตามอัตภาพ และมีสถาบันของตนเองในการเป็นสื่อกลางที่จะให้บริการด้านความสะดวกต่าง ๆ แก่สมาชิก ซึ่งทางราชการมีนโยบายที่จะจัดสหกรณ์นิคมให้เป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ ดำเนินธุรกิจในรูปอเนกประสงค์ โดยมีรัฐเป็นพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้สหกรณ์นั้นดำเนินธุรกิจตามแผนงานและระเบียบข้อบังคับ เพื่อจะได้บังเกิดผลดีแก่สมาชิกหากจำเป็นต้องมีการตรวจสอบควบคุม ก็มีเจตนาเพียงให้การแนะนำและแก้ไขข้อบกพร่องเท่านั้น
               สหกรณ์นิคมจะอำนวยประโยชน์ให้แก่สมาชิก ดังนี้
               1. เป็นสื่อกลางในการขอรับหรือบริการต่าง ๆ จากรัฐบาล
               2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับสมาชิกสหกรณ์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น เรียกเก็บเงินเพื่อช่วยทุนของรัฐ
               3. เพื่อให้เกษตรในนิคมมีสถาบันของตนเอง ที่จะจัดทำและอำนวยบริการในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดหาสินเชื่อ
               4. การรวมกันซื้อ-ขาย การส่งเสริมการเกษตรและการฝึกอบรมซึ่งเป็นการเสริมสร้างให้เกิดระบบที่ดีในการจัดหา การผลิต การตลาด โดยสมาชิกของสหกรณ์นิคมเป็นเจ้าของ เป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้ประโยชน์ ซึ่งจะทำให้สหกรณ์นิคม สามารถผนึกกำลังประกอบอาชีพอย่างมั่นคง มีรายได้และมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ขั้นตอนการจัดตั้งนิคมสหกรณ์                                                                           

     1 .ออกพระกฤษฏีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์

     2 .สำรวจและจัดทำแผนที่วงรอบ กำหนดแนวเขตที่ดินของนิคม

     3 .สำรวจแบ่งแปลงที่ดิน

     4 .รับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าทำประโยชน์ในที่ดินนิคมสหกรณ์

     5 .การจัดที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ

     6 .การส่งเสริมและพัฒนาปรับปรุงดิน

     7 .การจัดปัจจัยพื้นฐาน

     8 .การส่งเสริมสหกรณ์

     9 .ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (กสน.3)

     10 .ออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ในที่ดิน (กสน.5)

ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์นิคม

ขั้นที่ 1ขอคำแนะนำจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด     

      คณะบุคคลซึ่งประสงค์จะจัดตั้งสหกรณ์ควรมีตัวแทนในการประสานงานกับสหกรณ์จังหวัด  เพื่อให้ได้แนวคิดว่าควรจัดตั้งสหกรณ์หรือไม่ และควรเป็นสหกรณ์ประเภทใด พร้อมคำแนะนำการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ด้วย 
***ติดต่อขอคำแนะนำจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ได้ทั่วประเทศ***

ขั้นที่ 2. ประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิก 

     ผู้ประสานงานในขั้นที่ 1 ต้องจัดประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ โดยมีวาระการประชุมดังนี้

  1. คัดเลือกคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ไม่น้อยกว่า 10 คน (ไม่ควรมากกว่า 15 คน)
  2. ให้การศึกษาอบรม เรื่องอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ วิธีการทำธุรกิจ
  3. เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภท และวัตถุประสงค์,แผนดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมของสหกรณ์
  4. เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างข้อบังคับสหกรณ์

***เชิญสหกรณ์จังหวัดหรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***

ขั้นที่ 3. ประชุมคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์

     คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งได้รับคัดเลือกจากขั้นที่ 2 ประชุมโดยมีวาระการประชุม ดังนี้

  1. เลือกประเภทสหกรณ์ และกำหนดวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
  2. กำหนดระยะเวลาในการรวบรวมใบสมัครสมาชิก เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อสมาชิก
  3. กำหนดแผนการดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมของสหกรณ์ และควรให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน
  4. พิจารณาร่างข้อบังคับสหกรณ์เพื่อเสนอให้ที่ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพิจารณา

***เชิญสหกรณ์สหกรณ์จังหวัดหรือ ตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***

ขั้นที่ 4. ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก 

     เมื่อคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ดำเนินการตามขั้นที่ 3 เสร็จแล้ว ต้องประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ โดยมีวาระการประชุมดังนี้

  1. พิจารณากำหนดข้อบังคับของสหกรณ์
  2. แจ้งประเภทของสหกรณ์ที่ได้เลือก รวมทั้งวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
  3. แจ้งแผนดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมของสหกรณ์

***เชิญสหกรณ์จังหวัดหรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
***เชิญหัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ หรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***

ขั้นที่ 5ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสหกรณ์

     คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องจัดทำเอกสารต่าง ๆ และยื่นขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสหกรณ์ โดยยื่นเอกสารได้ที่สำนักงานสหกรณ์อำเภอ หรือสหกรณ์จังหวัดในพื้นที่เอกสารที่จะยื่นประกอบด้วย

  1. คำขอจดทะเบียนที่คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ได้ลงลายมือชื่อแล้ว
  2. สำเนารายงานการประชุม ครั้งละ 2 ชุด คือ
    • o การประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ (ตามขั้นที่ 2)
    • o การประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ (ตามขั้นที่ 4)
  3. แผนดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจ หรือกิจกรรมจำนวน 2 ชุด
  4. บัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก พร้อมลายมือชื่อและจำนวนหุ้นที่จะถือ จำนวน 2 ชุด

ข้อบังคับตัวจริง 4 ฉบับ และสำเนา 6

  • ฮิต: 651

สารสนเทศนิคมสหกรณ์สระแก้ว

(1) สารสนเทศของสหกรณ์ในเขตนิคมสหกรณ์

(1.1) สหกรณ์นิคมสระแก้ว จำกัด

ประวัติ สหกรณ์นิคมสระแก้ว จำกัด ได้รับจดทะเบียน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 บริหารงาน
โดยคณะกรรมการเป็นผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการและคณะกรรมการทำหน้าที่
เป็นคณะบริหารกำหนดนโยบาย โดยมีฝ่ายปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ เจ้าหน้าที่บัญชี เจ้าหน้าที่สินเชื่อ เจ้าหน้าที่การเงิน เป็นผู้ปฏิบัติงาน ในการทำงานมีคณะกรรมการ ประธานกลุ่ม ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ ผู้ตรวจสอบกิจการ และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการเข้าร่วมประชุมประจำเดือน
ด้วยทุครั้ง

ที่อยู่ 269 หมู่ที่ 3 ต.ศาลาลำดวน อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว

การดำเนินธุรกิจ

  • ธุรกิจสินเชื่อ
  • ธุรกิจรับฝากเงิน
  • ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย
  • ธุรกิจรวบรวมผลผลิต

(2) ข้อมูลกลุ่มอาชีพในเขตนิคมสหกรณ์

(2.1) กลุ่มพัฒนาอาชีพนิคมสหกรณ์สระแก้ว

ประวัติ “กลุ่มพัฒนาอาชีพนิคมสหกรณ์สระแก้ว” ด้วยการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพ พ.ศ. 2560 ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2560 วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกและครอบครัวสมาชิก โดยวิธีร่วมกันดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์ร่วมกัน โดยมีนายสำรวย ขอบังกลาง เป็นประธานกรรมการบริหารกลุ่มพัฒนาอาชีพนิคมสหกรณ์สระแก้ว

ที่อยู่ 191 หมู่ที่ 10 ต.ศาลาลำดวน อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว

การดำเนินธุรกิจ

  • รวบรวมผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ของบรรดาสมาชิกเพื่อขายหรือเพื่อแปรรูปเพื่อขาย
  • จัดหาสินค้า วัสดุอุปกรณ์ ซึ่งสมาชิกต้องการมาจำหน่าย
  • จัดหาครุภัณฑ์และอุปกรณ์ ในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม
  • ให้สมาชิกหรือกลุ่มอื่นกู้ยืม

(3) การออกเอกสารสิทธิที่ดิน

การออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.3) นิคมสหกรณ์สระแก้ว

  • พื้นที่โครงการทั้งหมด 85,578 ไร่
  • พื้นที่กันออก (ชุมชน ถนน ลำน้ำ ที่ใช้ของส่วนราชการ)

แบ่งเป็น เพื่อกิจการนิคม 1,611 ไร่ ป่า 1,503 ไร่ และพื้นที่สงวน 1,141 ไร่

  • พื้นที่จัดนิคม 74,140 ไร่
  • พื้นที่ออก กสน.3 แล้ว 71,646 ไร่
  • คงเหลือพื้นที่สามารถ ออก กสน.3 ได้ 2,500 ไร่

(4) การออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) นิคมสหกรณ์จังหวัด 

การออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) นิคมสหกรณ์สระแก้ว

  • พื้นที่โครงการทั้งหมด 85,578 ไร่
  • พื้นที่กันออก (ชุมชน ถนน ลำน้ำ ที่ใช้ของส่วนราชการ)

แบ่งเป็น เพื่อกิจการนิคม 1,611 ไร่ ป่า 1,503 ไร่ และพื้นที่สงวน 1,141 ไร่

  • พื้นที่จัดนิคม 74,140 ไร่
  • พื้นที่ออก กสน 5 แล้ว 58,679 ไร่
  • คงเหลือพื้นที่สามารถ ออก กสน 5 ได้ 15,461 ไร่
  • ฮิต: 755

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสระแก้ว ภาพประกอบและวิดิทัศน์จากเว็บไซต์ freepik.com,canva.com

 

BACK TO TOP