ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์นิคมสระแก้ว
การจัดนิคมสหกรณ์
การจัดนิคมสหกรณ์เป็นการให้หน่วยงานของราชการมีอำนาจหน้าที่จัดสรรที่ดินของทางราชการ เพื่อให้ประชาชนได้มีที่ตั้งเคหะสถานและประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินนั้น และที่ดินนั้นเหมาะแก่ทางราชการที่จะต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพทางการเกษตร
การจัดตั้งและการดำเนินงาน
เมื่อทางการได้อนุญาตให้ราษฎรที่ได้รับคัดเลือกเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินแล้ว ก็จะมีการรวบรวมราษฎรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินในโครงการจัดตั้งเป็นสหกรณ์และจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 เป็นประเภทสหกรณ์นิคม
สหกรณ์นิคมเป็นสหกรณ์ประเภทหนึ่ง มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับสหกรณ์การเกษตร คือ มีการดำเนินธุรกิจที่ให้บริการแก่สมาชิกคล้ายคลึงกัน เช่น ด้านสินเชื่อจัดหาปัจจัยการผลิตและสิ่งของที่จำเป็น แปรรูปและส่งเสริมการเกษตร แต่มีส่วนที่แตกต่างกัน คือ เรื่องที่ดิน เพราะสหกรณ์การเกษตรมักจัดตั้งในพื้นที่ที่เกษตรมี่ที่ดินเป็นของตนเองอยู่แล้ว จะมีเกษตรกรที่เช่าที่ดินผู้อื่นทำกินบ้างเป็นส่วนน้อย ส่วนในสหกรณ์นิคม รัฐเป็นเจ้าของที่ดินในครั้งแรกแล้วจึงนำไปจัดสรรให้แก่เกษตรกรในภายหลัง
เหตุที่รัฐสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นในนิคม เนื่องจากรัฐมีความประสงค์จะส่งเสริมราษฎรที่เข้ามาอยู่ในนิคม ให้มีอาชีพทางการเกษตรที่มั่นคงและมีรายได้สูงขึ้น สามารถดำรงชีพครอบครัวอยู่ได้ตามอัตภาพ และมีสถาบันของตนเองในการเป็นสื่อกลางที่จะให้บริการด้านความสะดวกต่าง ๆ แก่สมาชิก ซึ่งทางราชการมีนโยบายที่จะจัดสหกรณ์นิคมให้เป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ ดำเนินธุรกิจในรูปอเนกประสงค์ โดยมีรัฐเป็นพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้สหกรณ์นั้นดำเนินธุรกิจตามแผนงานและระเบียบข้อบังคับ เพื่อจะได้บังเกิดผลดีแก่สมาชิกหากจำเป็นต้องมีการตรวจสอบควบคุม ก็มีเจตนาเพียงให้การแนะนำและแก้ไขข้อบกพร่องเท่านั้น
สหกรณ์นิคมจะอำนวยประโยชน์ให้แก่สมาชิก ดังนี้
1. เป็นสื่อกลางในการขอรับหรือบริการต่าง ๆ จากรัฐบาล
2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับสมาชิกสหกรณ์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น เรียกเก็บเงินเพื่อช่วยทุนของรัฐ
3. เพื่อให้เกษตรในนิคมมีสถาบันของตนเอง ที่จะจัดทำและอำนวยบริการในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดหาสินเชื่อ
4. การรวมกันซื้อ-ขาย การส่งเสริมการเกษตรและการฝึกอบรมซึ่งเป็นการเสริมสร้างให้เกิดระบบที่ดีในการจัดหา การผลิต การตลาด โดยสมาชิกของสหกรณ์นิคมเป็นเจ้าของ เป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้ประโยชน์ ซึ่งจะทำให้สหกรณ์นิคม สามารถผนึกกำลังประกอบอาชีพอย่างมั่นคง มีรายได้และมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ขั้นตอนการจัดตั้งนิคมสหกรณ์
1 .ออกพระกฤษฏีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์
2 .สำรวจและจัดทำแผนที่วงรอบ กำหนดแนวเขตที่ดินของนิคม
3 .สำรวจแบ่งแปลงที่ดิน
4 .รับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าทำประโยชน์ในที่ดินนิคมสหกรณ์
5 .การจัดที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ
6 .การส่งเสริมและพัฒนาปรับปรุงดิน
7 .การจัดปัจจัยพื้นฐาน
8 .การส่งเสริมสหกรณ์
9 .ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (กสน.3)
10 .ออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ในที่ดิน (กสน.5)
ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์นิคม
ขั้นที่ 1. ขอคำแนะนำจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด
คณะบุคคลซึ่งประสงค์จะจัดตั้งสหกรณ์ควรมีตัวแทนในการประสานงานกับสหกรณ์จังหวัด เพื่อให้ได้แนวคิดว่าควรจัดตั้งสหกรณ์หรือไม่ และควรเป็นสหกรณ์ประเภทใด พร้อมคำแนะนำการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ด้วย
***ติดต่อขอคำแนะนำจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ได้ทั่วประเทศ***
ขั้นที่ 2. ประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิก
ผู้ประสานงานในขั้นที่ 1 ต้องจัดประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ โดยมีวาระการประชุมดังนี้
- คัดเลือกคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ไม่น้อยกว่า 10 คน (ไม่ควรมากกว่า 15 คน)
- ให้การศึกษาอบรม เรื่องอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ วิธีการทำธุรกิจ
- เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภท และวัตถุประสงค์,แผนดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมของสหกรณ์
- เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างข้อบังคับสหกรณ์
***เชิญสหกรณ์จังหวัดหรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
ขั้นที่ 3. ประชุมคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์
คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งได้รับคัดเลือกจากขั้นที่ 2 ประชุมโดยมีวาระการประชุม ดังนี้
- เลือกประเภทสหกรณ์ และกำหนดวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
- กำหนดระยะเวลาในการรวบรวมใบสมัครสมาชิก เพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อสมาชิก
- กำหนดแผนการดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมของสหกรณ์ และควรให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน
- พิจารณาร่างข้อบังคับสหกรณ์เพื่อเสนอให้ที่ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกพิจารณา
***เชิญสหกรณ์สหกรณ์จังหวัดหรือ ตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
ขั้นที่ 4. ประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก
เมื่อคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ดำเนินการตามขั้นที่ 3 เสร็จแล้ว ต้องประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ โดยมีวาระการประชุมดังนี้
- พิจารณากำหนดข้อบังคับของสหกรณ์
- แจ้งประเภทของสหกรณ์ที่ได้เลือก รวมทั้งวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
- แจ้งแผนดำเนินธุรกิจ หรือกิจกรรมของสหกรณ์
***เชิญสหกรณ์จังหวัดหรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
***เชิญหัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ หรือตัวแทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงด้วย***
ขั้นที่ 5. ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสหกรณ์
คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องจัดทำเอกสารต่าง ๆ และยื่นขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสหกรณ์ โดยยื่นเอกสารได้ที่สำนักงานสหกรณ์อำเภอ หรือสหกรณ์จังหวัดในพื้นที่เอกสารที่จะยื่นประกอบด้วย
- คำขอจดทะเบียนที่คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ได้ลงลายมือชื่อแล้ว
- สำเนารายงานการประชุม ครั้งละ 2 ชุด คือ
- o การประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกของสหกรณ์ (ตามขั้นที่ 2)
- o การประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ (ตามขั้นที่ 4)
- แผนดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจ หรือกิจกรรมจำนวน 2 ชุด
- บัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก พร้อมลายมือชื่อและจำนวนหุ้นที่จะถือ จำนวน 2 ชุด
ข้อบังคับตัวจริง 4 ฉบับ และสำเนา 6